วันวิสาขบูชา พุทธปาฏิหาริย์แห่งวันเพ็ญ ณ กาลกึ่งกลางของปี
(โปรดอ่านภาษาไทยด้านล่าง)
.. Visakha Bucha is the ceremony that commemorates the birth, enlightenment, and death of Gautama Buddha. Lord Buddha's biography on this day signifies the miracle that happened in the middle of the year and of the month, which is the full moon (15th lunar day) of the sixth lunar month and is described as follows. . 1. The Birth The Buddha, while being a Bodhisattva in heaven, was incarnated and born in the womb of Queen Mahamaya, the wife of King Sutthothana, the King of Kapilavastu. When Queen Mahamaya was pregnant for 10 months and was about to give birth, she traveled back to the maternal home, Devadaha. Upon reaching the Lumbini, which is a Sal forest in between the two cities, which blossomed out of the season, she gave birth to her son on the full moon day of the sixth month with the name “Siddhartha.” In that time, his wife “Queen Yasothara”, his disciple “Ananda”, his charioteer “Chandaka”, his father’s minister and close friend “Kalutayi”, his horse “Kanthaka”, Maha Bodhi Tree, and the four Treasure Pots were born at the same time. . 2. The Enlightenment of Buddha The Lord Buddha, after his ordination, had traveled to live the life of an ascetic. Later he met Alara Kamala and Udaka Ramaputta, and mastered their teachings, but thought that these are not the way to enlightenment. Thus, he then changed to practicing extreme forms of self-mortification for nearly six years with his five companions as his attendants. Afterwards, he realized that self-mortification is not the way to liberation from suffering and rebirth. So, he went for alms and stayed in the middle path, meaning not being involved in the two ultimate things, which are happiness rising from sensual pleasure and negative state of mind. . On the full moon (15th lunar day) of the sixth lunar month, he sat cross-legged under the shadow of the Bodhi tree. With a firm mind, he could recall his past lives in the early evening, cleanse the mind from impurities in the middle of the night, realize the Law of Dependent Origination in the late night, and attain liberation from the endless cycle of rebirth at the time of dawn. . 3. The Nibbana (Nirvana) After the Buddha carried out his duty by spreading his teachings and prospering Buddhism for 45 years, he, along with the companion monks, arrived at the Sal Forest Park in the outskirts of Kushinagar in the late evening. He sat between two Sal trees, which blossomed out of the season.
On that occasion, the Buddha gave his last words as “Bhikkhus (monks)! This is my last piece of advice to you. All the components in the world are impermanent. Nothing lasts forever. May you all strive with diligence and not be heedless.” The Lord Buddha then entered his final meditation and passed away, reaching nirvana at the final hour of the night, on the full moon (15th lunar day) of the sixth lunar month. . The birth, enlightenment and Nibbana of the Buddha was the miracle that took place in the middle of the month and of the year (the full moon of the sixth lunar month). Master Acharavadee Wongsakon said that “This emphasizes the unlimited power of ‘the middle path,’ that is a way that equates in the middle between suffering and happiness by neutralizing the mind. When the mind is neutralized, wisdom will appear, leading the mind to be free from any attachments. In the Dhamma term, it is called ‘Equanimity.’ It is the most important Dhamma that the Buddha taught and is a way to be free from the attracting currents of the universe that bind us to be reborn over again and again.
The arrival of Gautama Buddha was the miracle that cannot be overshadowed for the one who was destined to be the Buddha. It was a phenomenon that was beyond ordinary miracles that could only happen to the one who had accumulated so much perfection for four Asamkheya (uncountable aeons) and hundred thousand aeons to help teachable people to find the way to liberate themselves from this miserable cycle of rebirth.” ..... On this important day of Buddhism, Buddhists should commemorate the grace of the Buddha, follow his teachings by practicing giving, observing precepts, practicing meditation and then dedicating merit to the Buddha. Do pray with a firm and resolute mind to be in the noble path or so called the middle path. Strive with diligence and do not be heedless as the Buddha taught in his last words for the continuation of Buddhism and to free yourself from the endless cycle of rebirth in this Buddha-interval. . Knowing Buddha with Master Acharavadee Wongsakon 26 May 2021 . Translation: Samroeng Thongrong .......
วันวิสาขบูชา พุทธปาฏิหาริย์แห่งวันเพ็ญ ณ กาลกึ่งกลางของปี
... วิสาขบูชาคือการบูชาในวันเพ็ญเดือน 6 ซึ่งเป็นวันที่พระพุทธเจ้าประสูติ ตรัสรู้ และปรินิพพาน เพื่อรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พุทธประวัติอันแสดงถึงพุทธปาฏิหาริย์ที่เกิดขึ้นในกึ่งกลางของปี และของเดือน คือวันเพ็ญขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 มีดังนี้ . 1. ประสูติ พระพุทธเจ้าในขณะที่ทรงเป็นพระโพธิสัตว์ในเทวโลกได้จุติแล้วถือปฏิสนธิในพระครรภ์ของพระนางมหามายา พระมเหสีในพระเจ้าสุทโธทนะ กษัตริย์แห่งกรุงกบิลพัสดุ์ ในเดือน 8 เมื่อพระนางมหามายาทรงบริหารพระโพธิสัตว์ด้วยพระครรภ์ตลอด 10 เดือน มีพระครรภ์แก่เต็มที่แล้ว มีพระราชประสงค์จะเสด็จไปยังกรุงเทวทหะอันเป็นเมืองของตระกูล เมื่อถึงลุมพินีวันซึ่งเป็นป่าสาละอยู่ในระหว่างนครทั้งสอง มีดอกบานสะพรั่งทั้งที่มิใช่ฤดูกาลจะออกดอก ก็ได้ประสูติพระราชโอรสในวันเพ็ญเดือน 6 มีพระนามว่าสิทธัตถะ ในกาลนั้น พระนางยโสธรา พระอานันทเถระ ฉันนอำมาตย์ กาฬุทายีอำมาตย์ กัณฐกะอัศวราช มหาโพธิพฤกษ์และหม้อขุมทรัพย์ทั้ง 4 ขุม ก็เกิดขึ้นพร้อมกัน จึงจัดเป็นสหชาติทั้ง 7 ของพระพุทธเจ้า . 2. ตรัสรู้อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ พระพุทธเจ้าครั้นทรงบรรพชาแล้ว เสด็จจาริกไปโดยลำดับ เสด็จเข้าไปหาอาฬารดาบสกาลามโคตรและอุทกดาบสรามบุตร ทำสมาบัติให้เกิดแล้วคิดว่า นี้ไม่ใช่ทางเพื่อการตรัสรู้ จึงมีพระประสงค์จะเริ่มตั้งความเพียรใหญ่ ทรงบำเพ็ญทุกรกิริยาตลอด 6 พรรษา โดยมีพระปัญจวัคคีย์คอยอุปัฏฐาก หลังจากทรงบำเพ็ญทุกรกิริยาแล้ว ทรงดำริว่า ชื่อว่าการทำทุกรกิริยานี้ ย่อมไม่เป็นทางเพื่อที่จะตรัสรู้ จึงเสด็จไปบิณฑบาต และอยู่ในมรรคาที่เป็นกลาง คือการไม่ข้องแวะในความเป็นที่สุด 2 อย่าง คือกามสุขและสภาวะด้านลบของจิต ในวันเพ็ญเดือน 6 พระองค์เสด็จไปยังใต้ร่มเงาของพันธุ์ไม้อัสสัตถะ (ต้นโพ) ทรงนั่งคู้อปราชิตบัลลังก์ ด้วยพระมนัสมั่นคง ทรงระลึกบุพเพนิวาสญาณ คือการระลึกชาติได้ในปฐมยาม ทรงชำระทิพยจักษุได้ในมัชฌิมยาม ทรงหยั่งพระญาณลงในปฏิจจสมุปบาทได้ในปัจฉิมยาม ทรงรู้แจ้งแทงตลอดพระสัพพัญญุตญาณในเวลาอรุณ . 3. ปรินิพพาน หลังจากที่พระพุทธองค์ทรงบำเพ็ญพุทธกิจมาแล้ว 45 พรรษา พระองค์พร้อมกับพระสงฆ์บริวารเสด็จไปถึงสาลวโนทยาน ที่อยู่ชานเมืองกุสินาราในเวลาใกล้ค่ำ พระองค์ประทับอยู่ระหว่างต้นสาละ 2 ต้นที่ผลิดอกทั้งที่มิใช่ฤดูกาลจะออกดอก ในกาลนั้นพระพุทธองค์ประทานปัจฉิมโอวาทว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย บัดนี้ เราขอเตือนพวกเธอว่า สังขารทั้งหลายมีความเสื่อมไปเป็นธรรมดา พวกเธอจงยังความไม่ประมาทให้ถึงพร้อมเถิด ฯ แล้วพระพุทธองค์เสด็จดับขันธปรินิพพานในเวลาสุดท้ายของคืนวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 ณ สาลวโนทยานนั้นเอง . การอุบัติขึ้น การตรัสรู้ และปรินิพพานของพระพุทธเจ้า เป็นพุทธปาฏิหาริย์ที่เกิดขึ้นในกึ่งกลางของปีและของเดือน คือวันเพ็ญขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 ซึ่งท่านอาจารย์อัจฉราวดี วงศ์สกลได้กล่าวว่า “เป็นการตอกย้ำของพลานุภาพไม่มีประมาณของ ‘ทางสายกลาง’ คือในทางที่สมดุล อยู่ตรงกลางระหว่างทุกข์และสุข เมื่อจิตเป็นกลางจึงทำให้เกิดปัญญาที่ไม่โน้มเอียง และทำให้จิตไม่ติดข้องกับสิ่งใด ภาษาธรรมเรียกว่า ‘อุเบกขา’ ซึ่งอุเบกขาธรรม เป็นธรรมสำคัญที่สุดที่พระพุทธองค์ทรงค้นพบวิธีการอยู่เหนือโลก อยู่เหนือพลังงานการดึงดูดของกระแสจักรวาล...
การมาอุบัติของพระพุทธเจ้าโคดม นับว่าเป็นการแสดงถึงพุทธปาฏิหาริย์ที่มิอาจบดบังได้ของผู้ที่จะบรรลุเป็นพระพุทธเจ้า เป็นปรากฏการณ์ที่เหนือความเป็นปาฏิหาริย์ธรรมดา ที่เกิดขึ้นได้เฉพาะผู้ที่สะสมบารมีมากอเนกอนันต์มาถึงสี่อสงไขยกับอีกหนึ่งแสนกัป ในการมาโปรดเวไนยสัตว์ให้พบทางแห่งการพ้นไปจากสังสารวัฏอันเป็นทุกข์นี้” ..... ในวันสำคัญที่ได้เวียนมาบรรจบอีกครั้งในปีนี้ พุทธศาสนิกชนพึงน้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ปฏิบัติตามคำสอนด้วยการให้ทาน รักษาศีล และปฏิบัติภาวนา น้อมถวายเป็นพุทธบูชา และอธิษฐานจิตด้วยความแน่วแน่ในการดำรงตนอยู่บนอริยมรรคที่ได้ชื่อว่า มัชฌิมาปฏิปทา หรือ ทางสายกลาง ยังความไม่ประมาทให้ถึงพร้อม ดังที่พระพุทธองค์ตรัสสอนในปัจฉิมโอวาท เพื่อการสืบสานพระพุทธศาสนา และเพื่อนำพาตนสู่การหลุดพ้นจากสังสารวัฏอันหาเบื้องต้นไม่ได้ ให้สำเร็จในพุทธันดรของพระองค์เถิด
องค์กรโนอิ้ง บุดด้า 26 พฤษภาคม 2564 . อ้างอิง : อรรถกถา ขุททกนิกาย อปทาน ภาค ๑ เถราปทาน ๑. พุทธวรรค อรรถกถา ขุททกนิกาย อปทาน ภาค ๑ เถราปทาน ๑. พุทธวรรค ๑. พุทธาปทาน พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๐ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒ ทีฆนิกาย มหาวรรค สมุดภาพพระพุทธประวัติ ฉบับอนุรักษ์ภาพเขียนทางพระพุทธศาสนา โดยครูเหม เวชกร บทความ พุทธปาฏิหาริย์แห่ง ทางสายกลาง เพจ 5000s ข้ามห้วงมหรรณพ กับ อ.อัจฉราวดี วงศ์สกล
Commenti