top of page

The End of Buddhist Lent

วันออกพรรษา

The end of Buddhist Lent falls on the 15th day of the 11th month in the lunar calendar. For this year, it is Thursday, 17th October, which marks the last day of the three-month monastic retreat for monks. After this, monks can leave the monastery and stay in other places.


The day is called “Maha Pavarana Day,” giving the opportunity for monastic members to communicate openly about any offense they might have made during the Rains Retreat. This will help monks be more cautious about their behaviors, which may affect the monastic community as well as Buddhism. Hence, this approach is a precaution to avoid future problems.


The end of Buddhist Lent is also the day to commemorate the Buddha’s return from Tavatimsa heaven world, where he stayed to give sermons to his mother, who was reborn in Tusita heaven. His teaching was known as “Sattapakarana Abhidhamma,” meaning the Seven Books of Abhidhamma. After three months, the Buddha came back to the human world on the 15th day of the 11th lunar month. On that day, with his supernatural power, he opened the opportunity for the three worlds —the heavens, the human world, and hell—to be able to see each other. Therefore, this day is named “The Day the Buddha Opened the World.”


On the next day, which was the first day of the waning moon of the 11th month, a lot of people came to give alms to the Buddha and monks. But due to the big crowd, many people couldn’t offer food to the Buddha and monks directly. So, they wrapped their offerings and threw them into the alms bowls. Later on, this became a traditional way to give alms on the day—throwing the food offerings, such as “Khao Tom Luk Yone,” which is sticky rice ball wrapped in palm leaves —to the alms bowls. This tradition is named “Tak Bat Devo,” which commemorates the alms offering when the Buddha returned from the deva world.


At the end of Buddhist Lent, we would like to invite all Buddhists to give alms to monks, make merit, listen to sermons, and practice meditation, then dedicate this merit to the Buddha with great respect. This meritorious deed will bring prosperity to our lives.


Compiler: Pimwilai Satitsiriporn


Source: National Office of Buddhism (Thailand)


Translator: Wisuwat Sutthakorn


วันออกพรรษา


วันออกพรรษา ตรงกับวันขึ้น ๑๕ ค่ำเดือน ๑๑ ของทุกปี ซึ่งปีนี้ตรงกับวันพฤหัสบดีที่ ๑๗ ตุลาคม วันออกพรรษาเป็นวันสุดท้ายแห่งการจำพรรษาของพระภิกษุสงฆ์ ครบกำหนดไตรมาส ตามพระพุทธบัญญัติแล้ว ท่านมีสิทธิ์ที่จะจาริกไปพักค้างคืนที่อื่นได้ และเรียกวันนี้อีกอย่างหนึ่งว่า “วันปวารณา” มีความหมายว่าพระภิกษุทั้งหลายต่างเปิดโอกาสอนุญาตแก่กันและกัน ให้ว่ากล่าวตักเตือนกันได้ การกล่าวปวารณา เท่ากับเป็นการช่วยระมัดระวังข้อประพฤติปฏิบัติที่ไม่ดีของพระรูปหนึ่ง ซึ่งเป็นจุดเล็ก ๆ น้อย ๆ นี้ มิให้ลุกลามก่อความเสื่อมเสียไปถึงพระหมู่มากและลุกลามไปถึงพระพุทธศาสนา อันเป็นจุดศูนย์กลางที่ใหญ่ได้ ท่านจึงใช้วิธีป้องกันไว้ก่อน ดีกว่าการแก้ไขในภายหลัง


วันออกพรรษานี้ ถือว่าเป็นวันที่ระลึกถึงวาระพระพุทธเจ้าเสด็จลงจากเทวโลก เนื่องจากพระพุทธองค์เสด็จขึ้นไปจำพรรษา ณ สวรรค์ชั้นดาวดึงส์ เพื่อทรงเทศนา “พระสัตตปกรณาภิธรรม” คือพระอภิธรรม ๗ คัมภีร์ โปรดพระพุทธมารดา (ซึ่งทรงได้บังเกิดอยู่ในสวรรค์ชั้นดุสิต) ครั้นครบกำหนด ๓ เดือนแล้ว จึงทรงเสด็จลงจากดาวดึงส์เทวโลกมาสู่มนุษย์โลก ในวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๑ พระพุทธเจ้าทรงใช้อิทธิฤทธิ์บันดาลให้โลกทั้ง ๓ มี เทวโลก มนุษย์โลก นรกโลก มองเห็นกันทั้งหมด จึงเรียกวันนั้นว่า วันพระเจ้าเปิดโลก


พอวันรุ่งขึ้นเป็นวันแรม ๑ ค่ำเดือน ๑๑ ผู้คนพากันมาใส่บาตรพระสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข ต่างคนก็ต่างมาด้วยศรัทธาจึงทำให้คนมามากมาย เมื่อมีคนมามากทำให้ไม่ถึงบาตรพระภิกษุสงฆ์ จึงเอาข้าวของตนห่อหรือปั้นเป็นก้อน โยนใส่บาตรพระ ด้วยเหตุนี้ ต่อมาภายหลังจึงนิยมทำข้าวต้มลูกโยนใส่บาตรพระ เท่ากับทำบุญตักบาตรรับเสด็จพระพุทธเจ้าในคราวเสด็จลงมาจากเทวโลกนั่นเอง ส่วนอาหารที่นำมาทำบุญตักบาตรในวันนั้น มีข้าว กับข้าวต้มมัดไต้ ข้าวต้มลูกโยนที่ห่อด้วยใบมะพร้าวหรือใบลำเจียกไว้หางยาว เป็นประเพณีที่นิยมกระทำกันสืบต่อมานานในวันออกพรรษา ซึ่งเรียกว่า " ตักบาตรเทโว" หรือเรียก "เทโวโรหณะ" แปลว่าการหยั่งลงจากเทวโลก


ในวันออกพรรษานี้ ขอเชิญพุทธศาสนิกชนร่วมทำบุญ ตักบาตร ฟังเทศน์ ฟังธรรม และปฏิบัติภาวนา เพื่อน้อมถวายเป็นพุทธบูชาแด่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เพื่อความเป็นสิริมงคลแก่ชีวิต


เรียบเรียง : พิมพ์วิไล สถิตสิริพร


แหล่งที่มาบทความ :

สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ

Comments


bottom of page