Life and Balance Master Acharavadee Wongsakon .. No matter what the ultimate goal of life is, everyone needs to keep balance in their life, especially in the duty to themselves, their families and society. Self-sacrificing is admirable but it must be based on the principle of "not causing harm to oneself and others". This is the bottom line for everyone in every context of life and it should not be crossed. Not causing harm means not making the mind suffer.
The word "suffer" needs to be on the basis of not clinging to happiness. If one allows kilesa to control his mind, then he doesn’t want to sacrifice his own happiness, asset or time to do good deeds. This means he is clinging to happiness. .. Whenever we lose balance in our lives, we should ask ourselves, "Is the thing I’m doing right or not?" To keep balance, we have to listen to both ourselves and our families, then examine it thoroughly without prejudice. .. In every mission and occasion, whether for personal or public matters, we must be able to dedicate ourselves otherwise our minds will be stuck with kilesa. With that, we are unable to step to the level of sacrifice. However, always set balance as our goal in every action because this is the core teaching of Buddha. Don’t go against the teaching or else our lives will be broken before we reach the goal. .. Once again, always remember that whether it is personal or public matters, we need to keep a balanced life. … An extract from "Master's Teaching", 4 June 2023 . Translated by Napassorn Oveerawong
......
ชีวิตกับความสมดุล อาจารย์อัจฉราวดี วงศ์สกล
ไม่ว่าเป้าหมายสูงสุดของชีวิตจะคืออะไรก็ตาม ขอให้ทุกคนรักษาความสมดุลในชีวิตไว้ให้ได้ โดยเฉพาะหน้าที่รอบด้าน ทั้งต่อตัวเอง ต่อครอบครัว ต่อส่วนรวม การจะบอกว่าเราต้องเสียสละ ต้องอุทิศตน นั่นเป็นความตั้งใจที่น่าสรรเสริญ แต่ในขั้นตอนการอุทิศตนนั้นต้องตั้งอยู่บนหลักการของ "การไม่เบียดเบียน ทั้งตนเองและผู้อื่น” ประโยคนี้คำเดียวจะเป็นบรรทัดฐานในการดำรงชีวิตในทุกบริบท และเป็น Bottom line หรือฐานสำคัญที่ห้ามล้ำเส้น . “การไม่เบียดเบียน คือการไม่ทำให้จิตเป็นทุกข์” คำว่า "ทุกข์" ก็ต้องอยู่บนพื้นฐานของการไม่ติดสุข การปล่อยให้กิเลสครอบงำจิตใจ ไม่กล้าสละความสุขส่วนตน ไม่ว่าจะเป็นทรัพย์ หรือเวลาพักผ่อนเพื่อมาประกอบความดีบ้าง นี่คืออาการของการติดสุข . เมื่อใดที่ชีวิตเริ่มเสียสมดุล ทุกคนต้องตั้งคำถามว่า “สิ่งที่เรากำลังทำอยู่นี่ ถูกหรือไม่?” การรักษาความสมดุลนั้น เราต้องฟังทั้งเสียงตัวเอง เสียงของครอบครัว และพิจารณาอย่างเป็นธรรมโดยไม่ลำเอียง . ในทุกกิจ ทุกกาล แม้ในมุมส่วนตัวหรือมุมส่วนรวม เราต้องมีมุมที่ทุ่มได้ เพราะหากไม่ทุ่ม ใจก็ติดกำแพงกิเลส ไม่ก้าวข้ามมาสู่ระดับการเสียสละ แต่ทุกการกระทำ ต้องตั้งธงแห่งความสมดุลไว้เป็นหลักชัยเสมอ เพราะนี่คือแกนคำสอนของพระบรมศาสดา อย่าสวนทางคำสอน เพราะชีวิตจะหักก่อนถึงจุดหมาย .. อีกครั้งหนึ่งที่ขอย้ำ ไม่ว่าจะกิจไหนๆ ส่วนตนหรือส่วนรวม จงรักษาความสมดุลของชีวิตไว้ให้ได้ . ที่มา : คำสอนของท่านอาจารย์ เรื่อง “ชีวิตกับความสมดุล” 4 มิถุนายน 2566 . ติดตามอ่าน บทธรรมคำสอน ของอาจารย์อัจฉราวดี วงศ์สกล ได้ที่ https://www.techovipassana.org/teachings
Comments