top of page

June 26th of every year marks the birth anniversary of His Holiness Somdet Phra Ariyavongsagatanana, the Supreme Patriarch of Thailand.


June 26th of every year marks the birth anniversary of His Holiness Somdet Phra Ariyavongsagatanana, the Supreme Patriarch of Thailand (Ampon Amparo), the 20th Supreme Patriarch of Rattanakosin. This year commemorates his 97th birthday.

.

His Holiness Somdet Phra Ariyavongsagatanana was born on Sunday, June 26, 1927, in Ratchaburi Province. He completed his primary education at the elementary school of Wat Phanoen Phlu, in 1937. He was ordained as a novice monk at Wat Satthanatpariwat and later ordained as a monk at Wat Ratchabophit Sathitmahasimaram on May 9, 1948. He completed his studies with a Pali scholar level 6 at the educational institution of Wat Ratchabophit.

.

After completing his studies at Mahamakut Buddhist University, where he graduated with a Bachelor of Religious Studies as part of the fifth graduating class, he pursued higher education. He obtained a Master of Education in History and Archaeology from Banaras Hindu University in the Republic of India. Following this, he undertook pivotal roles in pioneering Thai missionary efforts abroad, notably as the leader of Thai missionary monks in Sydney, Australia, since the early days in 1973.

.

Somdet Phra Ariyavongsagatanana has been appointed to numerous significant positions within the Buddhist clergy, such as the abbot of Wat Ratchabophit Sathitmahasimaram and the chairman of the Supreme Sangha Council. He was bestowed the title of Somdet Phra Ariyavongsagatanana (Supreme Patriarch) in 2017, which is his current title.

.

On this auspicious occasion, we humbly offer our heartfelt blessings and auspicious wishes to His Holiness Somdet Phra Ariyavongsagatanana. May His Holiness have good health and continue to be a guiding pillar for all Buddhists in the land of Suvarnabhumi for a long time to come.

Knowing Buddha Foundation.

Translation​: Kanakwan Rachatanunthawich

.......

พระการุณย์หลั่งหล้ามหามณฑล’

..

วันที่ ๒๖ มิถุนายนของทุกปี เป็นวันคล้ายวันประสูติสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก (อัมพร อมฺพโร) พระผู้เป็นประมุขแห่งสังฆมณฑลสยาม พระองค์ที่ ๒๐ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ซึ่งในปีนี้ ถือเป็นการฉลองพระชนมายุครบ ๙๗ พรรษา ประสูติเมื่อวันอาทิตย์ที่ ๒๖ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๗๐ ณ จังหวัดราชบุรี ทรงสำเร็จประถมศึกษาปีที่ ๔ ที่โรงเรียนประชาบาล วัดพเนินพลู เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๘๐

.

ทรงประกอบพิธีบรรพชาเป็นสามเณร ณ วัดสัตตนารถปริวัตรวรวิหาร และได้ทรงอุปสมบทที่วัดราชบพิธสถิตมหาสีมารามราชวรวิหาร เมื่อวันที่ ๙ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๙๑ ซึ่งได้ทรงสำเร็จการศึกษาเปรียญธรรม ๖ ประโยค ณ สำนักเรียนวัดราชบพิธนี้

.

ต่อมา ได้ทรงเข้ารับการศึกษา ณ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย สำเร็จการศึกษา ‘ศาสนศาสตรบัณฑิต’ ในฐานะนักศึกษารุ่นที่ ๕ จากนั้น เสด็จไปศึกษาต่อ ‘การศึกษามหาบัณฑิต’ สาขาประวัติศาสตร์และโบราณคดี ณ มหาวิทยาลัยพาราณสี สาธารณรัฐอินเดีย ทรงรับพระภารกิจสำคัญ ในการบุกเบิกงานด้านธรรมทูตไทยในต่างแดน โดยเฉพาะการเป็นหัวหน้าพระธรรมทูตไทย ณ นครซิดนีย์ ประเทศออสเตรเลีย ตั้งแต่ยุคแรกเริ่มเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๑๖

.

สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ทรงได้รับสมณาณัติให้ดำรงตำแหน่งที่สำคัญต่อพระบวรพุทธศาสนาจำนวนมาก อาทิ เจ้าอาวาสวัดราชบพิธสถิตมหาสีมารามราชวรวิหาร, ประธานกรรมการมหาเถรสมาคม

.

โดยนับแต่อดีต สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ทรงได้รับพระราชทานสถาปนาเลื่อนสมณศักดิ์ให้เป็นสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ (สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก) อันเป็นพระสมณศักดิ์ในปัจจุบัน เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๖๐

.

เนื่องในวาระมหามงคลอีกคำรบนี้ ปวงเกล้ากระหม่อมขอประทานโอกาสถวายชัยมงคลและจตุรพิธพรอันประเสริฐศรีต่อฝ่าพระบาท ขอฝ่าพระบาทสถิตเป็นหลักชัยแก่เหล่าพุทธบริษัททั้งหลายในแผ่นดินสุวรรณภูมิตราบนานเท่านานเทอญ

ทีฆายุโก โหตุ สังฆราชา

ควรมิควรแล้วแต่จะโปรด เกล้ากระหม่อม เพจโนอิ้ง บุดด้า เพื่อการปกป้องพระพุทธศาสนา

อ้างอิงจาก:

กรมประชาสัมพันธ์. (2566). พระประวัติสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก.

Comments


bottom of page