top of page

Buddhist Lent Day


วันเข้าพรรษา

(ภาษาไทยโปรดอ่านด้านล่าง)


Buddhist Lent Day is one of the important days for Buddhists. It is the day that marks the beginning of the three-month retreat for monks of Theravada monastic discipline during which they will stay in a particular place throughout the rainy season. The retreat starts from the 1st waning moon day of the 8th lunar month until the 15th waxing moon day of the 11th lunar month. For this year, Buddhist Lent Day is on July 25, 2021.

This tradition was originated from the Buddha’s time. In those days, monks travelled to various places to spread the teachings of the Buddha. However, in rainy season, there were complaints from villagers that by traveling from place to place, monks passed through their fields thus ruined their crops. Therefore, the Buddha laid down a rule for monks to stay permanently in one place during rainy season. It was also the time for monks to study the teachings as well as sharing experiences with others.

However, there are exceptions for monks who may have some important duties such as, - Taking care of sick monks or parents. - Persuading those who want to leave monkhood to change their mind and carry on their monkhood. - Doing some monastic errand such as renovating the temple. - Being invited to perform religious ceremonies. In such cases, monks may travel and stay away from their monasteries. But they are required to return within seven days. If otherwise, they will breach the disciplinary rule.

Buddhists in Thailand give much importance to religious ceremony on Buddhist Lent Day. This includes the Royal institution that performs merit making ceremony at the Temple of the Emerald Buddha (Wat Phra Keaw), Wat Bowonniwet and also in the palace. The important process of the ceremony is offering candles to pay respect to the Buddha and monks of superior monastic title. There is also almsgiving to 150 monks who have superior and high monastic title as well as monks who graduated in Pali studies.

Buddhist Lent period is a good time for parents to have their children ordain and study Dhamma for them to retain and spread the Buddha’s teachings.

On this day, Buddhists usually make merit by giving alms, offering rain-bathing cloth together with lamps, candles and necessities to monks. Unfortunately, during this Covid-19 outbreak, there is limitation to perform religious rite. Still, we can make donation, observe five or eight precepts and practice meditation to purify our minds. In this situation, cooperation and support given to others without expecting anything in return are good deeds. It is an accumulation of the first virtue of the Ten Perfections (parami); that is giving. Other than these, we can also cultivate other virtues such as morality, renunciation, wisdom, effort, endurance, truthfulness, determination, loving-kindness, and equanimity.

On this important day, we would like to invite you, all Buddhists to make a resolution to change yourselves, to accumulate virtuous perfections, to refrain from intoxicant, to refrain from sinful acts and all causes of ruin. The purpose is to develop yourselves to be the ones who have no more heedlessness. .. 25 July 2021 Knowing Buddha Organization ... Boonyapawn Khempanya Translation: Siriporn Kuprasertsin,Wisuwat Sutthakorn Source: 84000, Wikipedia

---------

วันเข้าพรรษา .. วันเข้าพรรษา เป็นวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาที่กำหนดให้พระสงฆ์นิกายเถรวาทจำพรรษาที่วัดใดวัดหนึ่งเป็นเวลา 3 เดือนตามที่พระธรรมวินัยบัญญัติไว้ โดยไม่ไปค้างแรมที่อื่น หรือเรียกแบบทั่วไปว่า "จำพรรษา" การเข้าพรรษาตามปกติเริ่มนับตั้งแต่วันแรม 1 ค่ำ เดือน 8 ของทุกปี (หรือเดือน 8 หลังถ้ามีเดือน 8 สองหน) และสิ้นสุดลงในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 หรือวันออกพรรษา สำหรับวันเข้าพรรษาปีนี้ตรงกับวันแรม 1 ค่ำเดือน 8 หลัง วันที่ 25 กรกฎาคม 2564 . ประวัติวันเข้าพรรษา สมัยพุทธกาลพระภิกษุมีหน้าที่เผยแผ่คำสอนของพระพุทธเจ้าซึ่งต้องออกเดินทางไปในที่ต่างๆ ไม่เหมือนกับสมัยปัจจุบัน เมื่อถึงฤดูฝนเป็นช่วงที่ชาวบ้านทำการเกษตรปลูกพืชผัก หว่านเมล็ดพันธุ์ พระภิกษุเดินธุดงค์ได้เหยียบย่ำเมล็ดพันธุ์ของชาวบ้านให้เกิดความเสียหาย พระพุทธเจ้าจึงทรงให้พระภิกษุจำพรรษาอยู่กับที่ในช่วงฤดูฝน และศึกษาพระธรรมคำสอนเพิ่มเติมแลกเปลี่ยนประสบการณ์กันในหมู่คณะสงฆ์ ซึ่งการเข้าพรรษานี้ถือเป็นข้อปฏิบัติสำหรับพระภิกษุโดยตรง ที่จะละเว้นไม่ได้ ไม่ว่ากรณีใดๆ แต่อย่างไรการตามอาจมีกรณีจำเป็นบางอย่างที่ทำให้พระภิกษุผู้จำพรรษาต้องออกจากสถานที่จำพรรษาเพื่อไปค้างที่อื่น พระพุทธองค์ก็ทรงอนุญาตให้ทำได้โดยไม่ถือว่าเป็นการขาดพรรษาโดยมีเหตุจำเป็นเฉพาะกรณีไปตามที่ทรงระบุไว้ในพระไตรปิฎก ซึ่งส่วนใหญ่จะเกี่ยวกับพระศาสนาหรือการอุปัฏฐานบิดามารดา ทั้งนี้จะต้องกลับมาภายในระยะเวลาไม่เกิน 7 วัน การออกนอกสถานที่จำพรรษาล่วงวันเช่นนี้เรียกว่า "สัตตาหกรณียะ" เช่น การไปรักษาพยาบาล ดูแลภิกษุหรือบิดามารดาที่เจ็บป่วย กรณีนี้ทำได้กับสหธรรมิก 5 และมารดาบิดา การไประงับภิกษุสามเณรที่อยากจะสึกมิให้สึกได้ กรณีนี้ทำได้กับสหธรรมิก 5 การไปเพื่อกิจธุระของคณะสงฆ์ เช่น การไปหาอุปกรณ์มาซ่อมกุฏิที่ชำรุด การที่ทายกนิมนต์ไปทำบุญ ให้ทาน รับศีล ฟังเทสนาธรรมได้ กรณีนี้หากโยมไม่มานิมนต์ ก็จะไปค้างไม่ได้. ซึ่งหากพระสงฆ์ออกจากอาวาสแม้โดยสัตตาหกรณียะล่วงกำหนด 7 วันตามพระวินัย ก็ถือว่า ขาดพรรษา และเป็นอาบัติทุกกฎเพราะรับคำอธิษฐานเข้าพรรษาแต่ทำไม่ได้ ในกรณีที่พระสงฆ์สัตตาหกรณียะและกลับมาตามกำหนดแล้ว ไม่ถือว่าเป็นอาบัติ . การประกอบพิธีทางศาสนาในช่วงเข้าพรรษาของประเทศไทย พุทธศาสนิกชนไทยให้ความสำคัญอย่างยิ่งกับช่วงเวลาวันเข้าพรรษานี้ไม่เฉพาะประชาชนทั่วไปเท่านั้นแต่ยังรวมไปถึงสถาบันพระมหากษัตริย์ ที่มีการจัดพระราชพิธีบำเพ็ญพระราชกุศลเนื่องในวันเข้าพรรษานี้ โดยสถานที่ประกอบพระราชพิธีหลักจะจัดในวัดพระศรีรัตนศาสดาราม วัดบวรนิเวศราชวรวิหาร และภายในพระบรมมหาราชวัง การสำคัญของพระราชพิธีคือการถวายพุ่มเทียนเครื่องบูชาแก่พระพุทธปฏิมาและพระราชาคณะ รวมทั้งการพระราชทานภัตตาหารแก่พระราชาคณะ ฐานานุกรม เปรียญ ซึ่งรับอาราธานามารับบิณฑบาตในพระบรมมหาราชวังจำนวน 150 รูป ในวันเข้าพรรษาทุกปี สำหรับพุทธศาสนิกชนทั่วไปการบำเพ็ญกุศลในช่วงเวลานี้เป็นโอกาสอันดียิ่งที่บิดามารดาจะให้บุตรหลานบวชเรียนหรือบรรพชา เพื่อได้ศึกษาพระธรรมคำสอนตลอดการจำพรรษาซึ่งจะเป็นกำลังในการเผยแผ่พระพุทธศาสนา นอกจากนี้ยังมีพิธีทำบุญ ตักบาตร การถวายเทียนพรรษา การถวายผ้าอาบน้ำฝนและเครื่องสังฆทาน เป็นต้น ในสถานการณ์โรคระบาดโควิด-19 เช่นนี้การประกอบพิธีทางศาสนาอาจมีข้อจำกัดบางประการ แต่อย่างไรก็ดีพุทธศาสนิกชนยังสามารถทำทาน รักษาศีล ปฏิบัติสมาธิ เจริญภาวนาเพื่อรักษาจิตได้ การมีความเพียรอย่างยิ่งยวดตั้งใจทำบารมี 10 ให้สมบูรณ์พร้อม ในสภาวะที่ทั่วโลกกำลังเผชิญกับวิกฤต การร่วมมือร่วมใจ สนับสนุน ช่วยเหลือโดยไม่หวังผลตอบแทนใดๆ นั้นเป็นสิ่งที่ดียิ่ง ถือเป็นการบำเพ็ญบารมีข้อแรกคือ ทานบารมี และยังสามารถบำเพ็ญบารมีข้ออื่นๆ ได้แก่ ศีลบารมี เนกขัมมบารมี ปัญญาบารมี วิริยบารมี ขันติบารมี สัจจบารมี อธิษฐานบารมี เมตตาบารมี และอุเบกขาบารมี อีกด้วย ในช่วงวันเข้าพรรษานี้ จึงขอเชิญชวนพุทธศาสนิกชนทุกท่านตั้งใจตั้งมั่นกับตัวเองให้ช่วงเวลานี้เป็นช่วงเวลาแห่งการเปลี่ยนแปลงตนเอง สร้างเพิ่มพูนบารมี งดเว้นสุราของมึนเมา การทำบาป อบายมุขทั้งปวง เพื่อพัฒนาตัวเองให้ดียิ่งขึ้นไป และเป็นผู้ไม่ประมาทในกาลอีกเลย .. 25 กรกฏาคม 2564 องค์กร โนอิ้ง บุดด้า เพื่อการปกป้องพระพุทธศาสนา ..... เรียบเรียงโดย บุญญาพร เข็มปัญญา ที่มา : 84000, Wikipedia

Comments


bottom of page