วันอัฏฐมีบูชา "วันถวายพระเพลิงพระพุทธสรีระขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า"
(ภาษาไทยโปรดอ่านด้านล่าง)
.. On the Buddha’s Cremation Commemorative Day, which was eight days after Gautama Buddha’s death and also corresponded to the eighth day of the waning moon of the sixth lunar month or the sixth month of Thailand, which this year falls on June 3, 2021. .. The background history of the cremation in commemoration of Lord Buddha took place on the 8th day after the Lord Buddha attained complete extinction of all passions (nibbana) under the Sal trees in a full moon (15th lunar day) night of the sixth lunar month done by the King of Malla. The ceremony was held using all kind of perfumes, flowers and the ensemble of all kinds of musical instruments available in Kusinara all through seven days. On the eighth day, the eight Malla royalties took a bath, wore new clothes to carry Buddha’s body to the cremation site on the east side of the city. . The Malla Royalties asked Venerable Ananda for the best practice regarding the Buddha’s body. Venerable Ananda suggested wrapping the Buddha’s body in a new sheet of cloth and using cotton wools for absorption. Then rewrapping with another sheet of cloth until 500 pairs of sheets have been used and respectfully engaging the body on to the oil-filled metal rail. Then decorating a funeral pile with sandalwood flowers and perfumery. The four Malla royalties tried to light the fire at the funeral pyre but could not make the fire start. They, therefore, inquired about the cause with Venerable Anuruddha. The Venerable said, “Because the deities desire to wait for the Venerable Maha Kassapa and a group of 500 monks who are on pilgrimage to pay homage to the Buddha to arrive. Then the fire will start.” Those deities used to be attendants of those senior disciples before, thus, they were not happy if Venerable Maha Kassapa is not present in the ceremony. And when the 500 monks, headed by Venerable Maha Kassapa arrived, the fire was starting on its own without being lit by anyone.
After the fire burned out Buddha’s remains and they became relics. The King of Malla brought all the relics to put it in a gold chest and took care of it in Kusinara. As for the Lord Buddha’s utensils, they were respectfully engaged to be enshrined at various places such as, the set of His robe was to be enshrined at Gandhara Kingdom, His alms-bowl was to be enshrined at Patna, etc. When the king of various provinces knew about Lord Buddha’s death, they sent their ambassadors to Kusinara to receive the share of the relics for reverence on their own land, but was refused by King of Malla, causing the conflicts and preparing for wars; in the end, the situation was settled. Since Drona Brahmin had come to be a mediator of negotiations to end the conflict. By proposing to divide the relics into eight equal parts, each kingdom had built a stupa to respectfully enshrine Buddha’s relics in different cities as follows:
1. The Licchavis of Vesali erected a stupa over the relics of the Blessed One at Vesali. 2. The Sakyas of Kapilavasthu erected a stupa over the relics of the Blessed One at Kapilavastu. 3. The Bulis of Allakappa erected a stupa over the relics of the Blessed One at Allakappa. 4. The Kolis of Ramagamma erected a stupa over the relics of the Blessed One at Ramagamma. 5. The Vethadipa Brahman erected a stupa over the relics of the Blessed One at Vethadipa. 6. The Mallas of Pava erected a stupa over the relics of the Blessed One at Pava. 7. The King of Magadha, Ajatasattu erected a stupa over the relics of the Blessed One at Rajagaha. 8. The Mallas of Kusinara erected a stupa over the relics of the Blessed One at Kusinara. 9. The Moriyas of Pipphalivana erected a stupa over the ashes at Pipphalivana. 10. Drona Brahman erected a stupa over the urn at Kusinara.
In the case of King of Moriyas who sent an ambassador after Drona Brahman had already divided the relics to eight cities, received the ashes instead. For Drona Brahman himself received the urn. ..
A dhamma principle related to the Atthami Bucha Day is that Buddhists should consider the meaning of life and learn that human nature is impermanent; birth, aging, illness and death are common to all human beings, no one can escape these, so that one should not attach to anything. This is the ultimate truth that Lord Buddha discovered and emphasized. There are a lot of dhamma principles related to the Atthami Bucha Day that are worth studying such as the Five Aggregates, the Three Characteristics of Existence, and the Principle of Heedfulness. .. The Three Characteristics of Existence; impermanence, suffering and non-self, describing the characteristics of all mental formation (sankhara) in the state of being in accordance with the natural law as follows, . 1. Impermanence is transient, inconstant, not permanent, the nature of arising and passing away. It lasts momentarily from time to time so we should wisely see the decline as it really is. When the loss has come, the sorrow and suffering would not be accumulated. It serves as a reminder to have mindfulness when experiencing difficulties in life, which could help alleviate or eradicate the suffering. . 2. Suffering is the state of painfulness from the condition that is not in its normal state. The condition of being forced to arise and pass away because of the composite factors not being able to force it to remain in its normal state because of craving and attachment. . 3. Non-self is the state of non-existence, without substance, not being under any commands and not being owned by anyone. It is in accordance with the law of cause and effect by nature. The Five Aggregates are all non-self. . The Three Characteristics of Existence is primarily for us to see the truth of life, using wisdom contemplating the state of truth with mindfulness and heedfulness. .. In Thailand, the tradition and practice on the Atthami Bucha Day are only performed in a handful of temples. For Buddhists who want to practice in remembrance of the divine grace of Lord Buddha; by giving alms, observing precepts, practicing meditation and following the teaching of the Buddha continuously to live on without negligence. .. Knowing Buddha Organization 3 June 2021 .. Sources: dhammajak.net, wikipedia.org and trueplookpanya.com Translation: Samroeng Thongrong Compiled by: Boonyaporn Khempanya
-----
วันอัฏฐมีบูชา เป็นวันถวายพระเพลิงพระพุทธสรีระของพระพุทธเจ้า หลังเสด็จดับขันธปรินิพพานได้ 8 วัน ซึ่งตรงกับวันแรม 8 ค่ำ เดือนวิสาขะหรือเดือน 6 ของไทย ซึ่งปีนี้ตรงกับวันที่ 3 มิถุนายน 2564 . ประวัติความเป็นมาของพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพมีขึ้นในวันที่ 8 หลังจากพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จดับขันธปรินิพพานใต้ต้นสาละในราตรี 15 ค่ำ เดือน 6 โดยพวกเจ้ามัลลกษัตริย์จัดบูชาด้วยของหอม ดอกไม้ และเครื่องดนตรีทุกชนิด ที่มีอยู่ใน เมืองกุสินาราตลอด 7 วัน แล้วให้เจ้ามัลละระดับหัวหน้า 8 คน สรงเกล้า นุ่งห่มผ้าใหม่ อัญเชิญพระสรีระไปทางทิศตะวันออกของพระนครเพื่อถวายพระเพลิง พวกเจ้ามัลละถามถึงวิธีปฏิบัติต่อพระสรีระกับพระอานนท์เถระ แล้วทำตามคำของพระเถระนั้นคือ ห่อพระสรีระด้วยผ้าใหม่แล้วซับด้วยสำลี แล้วใช้ผ้าใหม่ห่อทับอีก ทำเช่นนี้จนหมดผ้า 500 คู่ แล้วเชิญลงในรางเหล็กที่เติมด้วยน้ำมัน แล้วทำจิตกาธานด้วยดอกไม้จันทน์ และของหอมทุกชนิด พวกเจ้ามัลละระดับหัวหน้า 4 คน สระสรงเกล้า และนุ่งห่มผ้าใหม่ พยายามจุดไฟที่เชิงตะกอน แต่ไม่อาจทำให้ไฟติดได้ จึงสอบถามสาเหตุกับพระอนุรุทธะ พระเถระแจ้งว่า "เพราะเทวดามีความประสงค์ให้รอพระมหากัสสปะ และภิกษุหมู่ใหญ่ 500 รูป ผู้กำลังเดินทางมาเพื่อถวายบังคมพระบาทเสียก่อน ไฟก็จะลุกไหม้" เทวดาเหล่านั้น เคยเป็นโยมอุปัฏฐากของพระเถระ และพระสาวกผู้ใหญ่มาก่อน จึงไม่ยินดีที่ไม่เห็นพระมหากัสสปะอยู่ในพิธี และเมื่อภิกษุหมู่ 500 รูปโดยมีพระมหากัสสปะเป็นประธานเดินทางมาพร้อมกัน ณ ที่ถวายพระเพลิงแล้ว ไฟจึงลุกโชนขึ้นเองโดยไม่ต้องมีใครจุด . หลังจากที่พระเพลิงเผาไหม้พระพุทธสรีระดับมอดลงแล้ว บรรดากษัตริย์มัลละทั้งหลายจึงได้อัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุทั้งหมด ใส่ลงในหีบทองแล้วนำไปรักษาไว้ภายในนครกุสินารา ส่วนเครื่องบริขารต่าง ๆ ของพระพุทธเจ้าได้มีการอัญเชิญไปประดิษฐานตามที่ต่าง ๆ อาทิ ผ้าไตรจีวร อัญเชิญไปประดิษฐานที่แคว้นคันธาระ บาตร อัญเชิญไปประดิษฐานที่เมืองปาฏลีบุตร เป็นต้น และเมื่อบรรดากษัตริย์จากแคว้นต่าง ๆ ได้ทราบว่าพระพุทธเจ้าได้เสด็จดับขันธปรินิพพานที่นครกุสินารา จึงได้ส่งตัวแทนไปขอแบ่งพระบรมสารีริกธาตุ เพื่อนำกลับมาสักการะยังแคว้นของตนแต่ก็ถูกกษัตริย์มัลละปฏิเสธ จึงทำให้เกิดความขัดแย้งและเตรียมทำสงคราม แต่ในที่สุดเหตุการณ์ก็มิได้บานปลาย เนื่องจากโทณพราหมณ์ได้เข้ามาเป็นตัวกลางเจรจาไกล่เกลี่ย เพื่อยุติความขัดแย้งโดยเสนอให้แบ่งพระบรมสารีริกธาตุออกเป็น 8 ส่วนเท่า ๆ กัน ซึ่งกษัตริย์แต่ละเมืองทรงสร้างเจดีย์ที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ ตามเมืองต่าง ๆ ดังนี้
1. กษัตริย์ลิจฉวี ทรงสร้างเจดีย์บรรจุไว้ที่เมืองเวสาลี 2. กษัตริย์ศากยะ ทรงสร้างเจดีย์บรรจุไว้ที่เมืองกบิลพัสดุ์ 3. กษัตริย์ถูลี ทรงสร้างเจดีย์บรรจุไว้ที่เมืองอัลกัปปะ 4. กษัตริย์โกลิยะ ทรงสร้างเจดีย์บรรจุไว้ที่เมืองรามคาม 5. มหาพราหมณ์ สร้างเจดีย์บรรจุไว้ที่เมืองเวฏฐทีปกะ 6. กษัตริย์มัลละแห่งเมืองปาวา ทรงสร้างเจดีย์บรรจุไว้ที่เมืองปาวา 7. พระเจ้าอชาตศัตรู ทรงสร้างเจดีย์บรรจุไว้ที่เมืองราชคฤห์ 8. มัลลกษัตริย์แห่งกุสินารา ทรงสร้างเจดีย์บรรจุไว้ที่เมืองกุสินารา 9. กษัตริย์เมืองโมริยะ ทรงสร้างสถูปบรรจุพระอังคาร (อังคารสถูป) ที่เมืองปิปผลิวัน 10. โทณพราหมณ์ สร้างสถูปบรรจุทะนานตวงพระบรมสารีริกธาตุ ที่เมืองกุสินารา สำหรับกรณีของกษัตริย์เมืองโมริยะนั้น ได้ส่งผู้แทนมาหลังจากที่โทณพราหมณ์แบ่งพระบรมสารีริกธาตุให้ทั้ง 8 เมืองไปแล้วจึงได้อัญเชิญพระอังคารไปแทน ส่วนโทณพราหมณ์ ก็ได้สร้างสถูปบรรจุทะนานที่ใช้สำหรับตวงพระบรมสารีริกธาตุสำหรับตนเอง และผู้คนได้สักการะดังที่ได้กล่าวไป .. หลักธรรมที่เกี่ยวเนื่องในวันอัฏฐมีบูชา พุทธศาสนิกชนทุกหมู่เหล่าควรได้ตระหนักว่า ชีวิตคืออะไร และเข้าใจว่าธรรมชาติของมนุษย์นั้นเป็นของไม่เที่ยง การเกิด แก่ เจ็บ ตาย เป็นเรื่องธรรมดาของมนุษย์ทุกคน ไม่มีใครหนีพ้น จะได้ไม่เกิดการยึดมั่นถือมั่น ความจริงเหล่านี้เป็นธรรมดาของมนุษย์ ที่พระพุทธเจ้าทรงค้นพบและทรงเน้นเป็นหลักธรรมในพระพุทธศาสนา หลักธรรมที่เกี่ยวเนื่องและควรศึกษามีมากมาย เช่น ขันธ์ 5 กฎไตรลักษณ์ และหลักธรรมเรื่องความไม่ประมาท .. ไตรลักษณ์ คือ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา แสดงลักษณะของสังขารทั้งปวงในภาวะความเป็นไปตามกฎธรรมชาติดังต่อไปนี้ . 1. อนิจจตา คือ ความไม่เที่ยง ไม่คงที่ ไม่ถาวร ไม่แน่นอน ภาวะที่เกิดขึ้นแล้วเสื่อมสลายไป เกิดดับ มีแล้วไม่มี เป็นของแปรปรวนเปลี่ยนแปลง แปรสภาพไปเรื่อย อยู่ได้ชั่วขณะเป็นครั้งคราว เป็นอนิจจัง ดังนั้นเราจึงควรมองเห็นความเสื่อมตามความเป็นจริงอย่างรู้เท่าทัน เมื่อสูญเสียตามสภาพ ความเศร้าโศกทุกข์ร้อนย่อมไม่เพิ่มพูน เป็นเครื่องเตือนสติตนเมื่อประสบภัยพิบัติในชีวิต ที่ช่วยบรรเทาหรือกำจัดทุกข์โศกได้ . 2. ทุกขตา คือ ความเป็นทุกข์จากสภาพที่อยู่ในสภาวะเดิมไม่ได้ ภาวะที่ถูกบังคับด้วยการเกิดขึ้นแล้วสลายไปเพราะปัจจัยที่ปรุงแต่งเปลี่ยนแปลงไป บังคับให้คงอยู่ในสภาพเดิมไม่ได้ เป็นเพราะมีตัณหาอุปาทาน . 3. อนัตตตา คือ ความไม่มีตัวตน ไม่ใช่ตัวตนแท้จริง ไม่อยู่ในอำนาจบังคับบัญชา ไม่มีใครเป็นเจ้าของ เป็นไปตามเหตุปัจจัยโดยธรรมชาติ ขันธ์ 5 ทั้งหลายล้วนเป็นอนัตตา . กฎของไตรลักษณ์เป็นหลักเพื่อให้เรามองเห็นของความจริงของชีวิตโดยใช้ปัญญาพิจารณาไตร่ตรองดูสภาวะที่เกิดขึ้นตามความเป็นจริงอย่างมีสติและไม่ประมาท .. ธรรมเนียมการปฏิบัติในวันอัฏฐมีบูชาของประเทศไทย มีการจัดบำเพ็ญกุศลจากวัดต่าง ๆ เพียงไม่กี่แห่งเท่านั้น สำหรับ พุทธศาสนิกชนที่ต้องการปฏิบัติเพื่อน้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า สามารถปฏิบัติได้โดย การให้ทาน รักษาศีล เจริญภาวนา ดำเนินตามคำสอนของพระพุทธองค์เพื่อยังชีวิตอยู่บนความไม่ประมาทสืบไป
.. องค์กรโนอิ้ง บุดด้า เพื่อการปกป้องพระพุทธศาสนา 3 มิถุนายน 2564
.... เรียบเรียงโดย : บุญญาพร เข็มปัญญา ขอบคุณที่มา : dhammajak.net,wikipedia.org และ trueplookpanya.com
Comments