วันอาสาฬหบูชา
(ภาษาไทยโปรดอ่านด้านล่าง)
… Asalha Puja Day is an important day of Buddhism. After the Buddha attained enlightenment on the 6th lunar month, he gave his first sermon to the first five disciples at the Deer Park in Sarnath (Isipatana), Varanasi, Magadha. One of the first five disciples, Añña Koṇḍañña, attained the first stage of enlightenment and became the first monk in Buddhism. Thus, it was the day that the Triple Gem was completed; Buddha, Dhamma and Sangha, which happened 45 years before the Buddhist Era. On this day, the Buddha gave the first sermon "Dhammacakkappavattana Sutta" which means “Setting in Motion of the Wheel of Dhamma”. It was the day the wheel of the Buddha's teachings spun for the first time. This first pivotal sermon contains two main topics. The first is “Majjhimā-paṭipadā” or the Middle Way. It is the ethical practice that leads to enlightenment, not a life on either of these two extreme paths: - Indulging in sensual pleasures through body, taste, smell and sound which is called “Kamasukhallikanuyoga”. - Living a wandering life, practicing self-mortification such as self-torturing or relying on the power of sacred things which cause suffering to oneself physically and mentally. It is known as “Attakilamathanuyoga”. Therefore, to refrain from these practices, one must walk the middle path which is to live with wisdom. There are eight elements of practice, known as the Noble Eightfold Path, which are: 1. Sammāditthi: Right View - correct understanding of the nature of things. 2. Sammāsańkappa: Right Thought - intention to do good deeds. 3. Sammāvācā: Right Speech - purity of verbal action. 4. Sammākammanta: Right Action - purity of physical action. 5. Sammā-ājīva: Right Livelihood - conducting an honest occupation or livelihood. 6. Sammāvāyama: Right Effort - preserving and multiplying those wholesome qualities. 7. Sammāsati: Right Mindfulness - developing awareness of body and mind. 8. Sammāsamādhi: Right Concentration - developing single-mindedness to keep the mind stable and undisturbed.
The second is the Four Noble Truths, meaning the truth of the noble ones who are far from defilements (kilesa); 1. Dukkha: Suffering - It means all problems that occur to humans. One must be aware of thing as it really is, dare to face problems, dare to face the truth and understand the world condition that everything is impermanent, it has to change. Therefore, one must not attach to anything. 2. Samudaya: Origin of suffering - The main reason of suffering is desire or craving which is related to other factors. 3. Nirodha: Cessation of suffering - It begins with an independent life, being aware of the world and living with wisdom. 4. Magga: Path to cessation of suffering - It is the Noble Eightfold Path that leads to the end of suffering.
On this important day, Buddhists usually make merit, offer alms to monks, keep the precepts, listen to Buddha’s teachings and pray. In the evening, they may participate in candlelight procession at a temple to carry on the good traditions.
With the unusual situation today, all Buddhists can also make merit by donating to help the needy and various organizations. This contribution can help others and the country in this time of crisis. Furthermore, we should pay homage to the Triple Gem by observing the precepts, and make merit by practicing meditation in order to purify our minds so that we will be ready to walk on the path to reach spiritual liberation. .. 24 July 2021 Knowing Buddha Organization ... Source: National Buddhism Office Compiled by Mr. Thanatphong Metheepiyawat Translation: Samroeng Thongrong
-----
วันอาสาฬหบูชา .. วันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๘ ได้เวียนมาบรรจบอีกวาระหนึ่ง ซึ่งสำหรับพุทธศาสนิกชนนั้นถือได้ว่าเป็นวันสำคัญวันหนึ่งในพระพุทธศาสนา เนื่องจากเป็นวัน “อาสาฬหบูชา” คำว่า "อาสาฬหบูชา" สามารถอ่านได้ ๒ แบบ คือ อา-สาน-หะ-บู-ชา หรือ อา-สา-ละ-หะ-บู-ชา ซึ่งประกอบด้วยคำ ๒ คำ คือ อาสาฬห ที่แปลว่า เดือน ๘ ทางจันทรคติ กับคำว่า บูชา ที่แปลว่า การบูชา เมื่อนำมารวมกันจึงแปลว่า การบูชาในเดือน ๘ หรือการบูชาเพื่อระลึกถึงเหตุการณ์สำคัญในเดือน ๘ วันอาสาฬหบูชานี้มีความสำคัญทางพระพุทธศาสนา คือ ถือได้ว่าเป็นวันที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงประกาศพระพุทธศาสนาเป็นครั้งแรก ภายหลังจากที่ทรงตรัสรู้ได้เป็นเวลา ๒ เดือน โดยได้ทรงแสดงปฐมเทศนาโปรดพระปัญจวัคคีย์ทั้ง ๕ ณ ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน เมืองพาราณสี แคว้นมคธ และพระอัญญาโกณฑัญญะได้บรรลุโสดาบัน และขอบวชเป็นพระภิกษุรูปแรกในพระพุทธศาสนา จึงถือได้ว่าวันนี้เกิดมีพระรัตนตรัยครบองค์สามบริบูรณ์ครั้งแรกในโลก คือ มีทั้งพระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์ ซึ่งเหตุการณ์นี้เกิดขึ้นก่อนพุทธศักราช ๔๕ ปี ในวันนี้เองพระพุทธองค์ทรงแสดง “ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร” แปลว่า พระสูตรแห่งการหมุนวงล้อธรรม (เป็นวันที่ล้อแห่งพระธรรมของพระพุทธเจ้าได้หมุนไปเป็นครั้งแรก) นับเป็นพระธรรมเทศนากัณฑ์แรก โดยมีใจความหลักสำคัญ ๒ ประการ ประการที่ ๑ คือ มัชฌิมาปฏิปทา หรือทางสายกลาง เป็นข้อปฏิบัติที่เป็นกลาง ถูกต้องและเหมาะสมที่จะให้บรรลุถึงจุดหมายได้ มิใช่การดำเนินชีวิตที่เอียงสุด ๒ อย่าง หรืออย่างหนึ่งอย่างใด คือ การหมกมุ่นในความสุขทางกาย มัวเมาในรูป รส กลิ่น เสียง รวมความเรียกว่าเป็นการหลงเพลิดเพลินหมกมุ่นในกามสุข หรือกามสุขัลลิกานุโยค การสร้างความลำบากแก่ตน ดำเนินชีวิตอย่างเลื่อนลอย เช่น บำเพ็ญตบะการทรมานตน คอยพึ่งอำนาจสิ่งศักดิ์สิทธิ์ เป็นต้น ซึ่งการดำเนินชีวิตแบบที่ก่อความทุกข์ให้ตนเหนื่อยแรงกาย แรงสมอง แรงความคิด รวมเรียกว่า อัตตกิลมถานุโยค ดังนั้น เพื่อละเว้นห่างจากการปฏิบัติเหล่านี้ ต้องใช้ทางสายกลาง ซึ่งเป็นการดำเนินชีวิตด้วยปัญญา โดยมีหลักปฏิบัติเป็นองค์ประกอบ ๘ ประการ เรียกว่า อริยอัฏฐังคิกมัคค์ หรือ มรรคมีองค์ ๘ ได้แก่ ๑. สัมมาทิฏฐิ เห็นชอบ คือ รู้เข้าใจถูกต้อง เห็นตามที่เป็นจริง ๒. สัมมาสังกัปปะ ดำริชอบ คือ คิดสุจริตตั้งใจทำสิ่งที่ดีงาม ๓. สัมมาวาจา เจรจาชอบ คือ กล่าวคำสุจริต ๔. สัมมากัมมันตะ กระทำชอบ คือ ทำการที่สุจริต ๕. สัมมาอาชีวะ อาชีพชอบ คือ ประกอบสัมมาชีพหรืออาชีพที่สุจริต ๖. สัมมาวายามะ พยายามชอบ คือ เพียรละชั่วบำเพ็ญดี ๗. สัมมาสติ ระลึกชอบ คือ ทำการด้วยจิตสำนึกเสมอ ไม่เผลอพลาด ๘. สัมมาสมาธิ ตั้งจิตมั่นชอบ คือ คุมจิตให้แน่วแน่มั่นคงไม่ฟุ้งซ่าน ประการที่ ๒ คือ อริยสัจ ๔ แปลว่า ความจริงอันประเสริฐของอริยะ ซึ่งคือบุคคลที่ห่างไกลจากกิเลส คือ ๑. ทุกข์ ได้แก่ ปัญหาทั้งหลายที่เกิดขึ้นกับมนุษย์ บุคคลต้องกำหนดรู้ให้เท่าทันตามความเป็นจริงว่ามันคืออะไร ต้องยอมรับรู้ กล้าสู้หน้าปัญหา กล้าเผชิญความจริง ต้องเข้าใจในสภาวะโลกว่าทุกสิ่งไม่เที่ยง มีการเปลี่ยนแปลงไปเป็นธรรมดา ต้องไม่ยึดติดกับสิ่งหนึ่งสิ่งใด ๒. สมุทัย ได้แก่ เหตุเกิดแห่งทุกข์ หรือสาเหตุของปัญหา ตัวการสำคัญของทุกข์ คือ ตัณหาหรือเส้นเชือกแห่งความอยากซึ่งสัมพันธ์กับปัจจัยอื่น ๆ ๓. นิโรธ ได้แก่ ความดับทุกข์ เริ่มด้วยชีวิตที่อิสระ อยู่อย่างรู้เท่าทันโลกและชีวิต ดำเนินชีวิตด้วยการใช้ปัญญา ๔. มรรค ได้แก่ กระบวนวิธีแห่งการแก้ปัญหา อันได้แก่ มรรคมีองค์ ๘ ประการดังกล่าวข้างต้น ในวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาวันนี้ โดยปกติพุทธศาสนิกชนโดยทั่วไปนิยมในการทำบุญ ตักบาตร รักษาศีล ฟังพระธรรมเทศนา และสวดมนต์ ในตอนค่ำก็จะมีการเวียนเทียนอันเป็นการสืบทอดประเพณีอันดีงาม แต่ด้วยสถานการณ์ที่ไม่ปกติในปัจจุบันนี้ พุทธศาสนิกชนทุกท่านยังสามารถทำบุญด้วยการบริจาคสมทบช่วยเหลือผู้ที่ขาดแคลนและองค์กรณ์ต่างๆ อันเป็นการเสียสละเพื่อช่วยเหลือผู้อื่น และประเทศชาติในยามวิกฤติเช่นนี้ อีกทั้งพึงน้อมระลึกถึงคุณพระรัตนตรัย ด้วยการรักษาศีล การสวดมนต์เจริญสมาธิภาวนาเพื่อบำเพ็ญบุญ เป็นการช่วยชะล้างจิตใจให้ปลอดโปร่งผ่องใส สะอาดบริสุทธิ์ เพื่อจะได้มีจิตใจที่ดีพร้อมในการดำเนินชีวิตบนทางเพื่อการหลุดพ้นต่อไป .. 24 กรกฏาคม 2564 องค์กร โนอิ้ง บุดด้า เพื่อการปกป้องพระพุทธศาสนา ... ที่มา : สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ เรียบเรียงโดย คุณธนัชพงศ์ เมธีปิยะวัฒน์
Comments