(Please find English below) .. วันเข้าพรรษาเป็นวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา เป็นวันที่องค์สมเด็จพระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงมีพุทธบัญญัติให้ภิกษุสงฆ์อธิษฐานจิตว่า จะประจำอยู่ ณ ที่ใดที่หนึ่งตลอดฤดูฝน วันเข้าพรรษาตรงกับวันแรม 1 ค่ำ เดือน 8 ถึงวันขึ้น 15 ค่ำเดือน 11 หากปีใดมีเดือน 8 สองครั้ง จะเลื่อนมาเป็นวันแรม 1 ค่ำเดือน 8 หลัง ถึงวันขึ้น 15 ค่ำเดือน 11 มีระยะเวลา 3 เดือนโดยประมาณ . สาเหตุที่พระพุทธเจ้าทรงอนุญาตการจำพรรษาอยู่ ณ สถานที่ใดที่หนึ่งตลอด 3 เดือนแก่เหล่าภิกษุสงฆ์นั้น มีเหตุผลเพื่อให้ภิกษุได้หยุดพักการจาริกเพื่อเผยแผ่ศาสนาไปตามสถานที่ต่าง ๆ ซึ่งจะเป็นไปด้วยความยากลำบากในช่วงฤดูฝน และเพื่อป้องกันความเสียหายจากการเดินเหยียบธัญพืชของชาวบ้านที่ปลูกในช่วงฤดูฝน การจำพรรษาตลอดระยะเวลา 3 เดือน เป็นโอกาสอันสำคัญยิ่งในรอบปีที่ภิกษุสงฆ์จะได้ศึกษาพระธรรมวินัยและแลกเปลี่ยนประสบการณ์ เป็นการสร้างความสามัคคีในหมู่คณะ ทั้งนี้เมื่อภิกษุสงฆ์จำพรรษาแล้ว หากมีกิจธุระจำเป็น อันชอบด้วยพระวินัย พระพุทธองค์ก็ทรงอนุญาตให้ไปได้ แต่ต้องกลับมายังสถานที่เดิมภายในเวลา 7 วัน ถือว่าพรรษาไม่ขาด เรียกว่า “สัตตาหกรณียะ” มี 4 ประการดังต่อไปนี้
1. การไปรักษาพยาบาล ดูแลบิดามารดา สหธรรมิก 5 (ผู้ประพฤติธรรมร่วมกัน) ที่เจ็บป่วย 2. การเข้าไประงับภิกษุสามเณรที่อยากสึก ไม่ให้สึก 3. มีกิจของคณะสงฆ์ เช่น การจัดหาอุปกรณ์ซ่อมบำรุงกุฏิ วิหาร 4. ทายกนิมนต์ไปเพื่อบำเพ็ญบุญกุศล ให้ทาน รับศีล . ธรรมเนียมปฏิบัติในช่วงเวลาวันเข้าพรรษา 3 เดือนนี้ พุทธศาสนิกชนทั้งหลายจะได้เข้าวัด ทำบุญ ใส่บาตร ฟังพระธรรมเทศนา รวมทั้งน้อมถวายวัตถุปัจจัย ต้นเทียน หลอดไฟ ผ้าอาบน้ำฝน แด่ พระภิกษุสงฆ์เพื่อใช้ตลอดพรรษานี้ และยังได้ถือโอกาสนี้ตั้งสัจจบารมีในการรักษาศีล 5 หรือ ศีล 8 งดเว้นการทำบาป ละเว้นจากอบายมุขทั้งปวง พร้อมทั้งฟังธรรม ปฏิบัติสมาธิภาวนา วิปัสสนากรรมฐาน รักษาจิตให้ผ่องแผ้ว เดินในทางอริยมรรคดั่งที่พระพุทธองค์ทรงโปรดชี้ทางแก่หมู่เวไนยสัตว์เพื่อการหลุดพ้นทั้งปวง . สำหรับประเทศไทย วันเข้าพรรษายังถือเป็น “วันงดดื่มสุราแห่งชาติ” จึงขอเชิญชวนทุกท่านร่วมกันตั้งสัจจบารมี งดดื่มสุรา รักษาศีล 5 ตลอดพรรษานี้ เพื่อสร้างกุศลธรรม ลด ละ เลิก การทำบาป การเบียดเบียนผู้อื่น หรือ ให้วันเข้าพรรษานี้เป็นวันเริ่มต้นความตั้งใจใฝ่ดี เป็นคนที่ดี สร้างแต่ความดี และพึงถือปฏิบัตินับจากนี้ตลอดไป
6 กรกฎาคม 2563
. ที่มา : วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี เรียบเรียงโดย : คุณบุญญาพร เข็มปัญญา ...
Buddhist Lent Day . Buddhist Lent Day is one of the important holy days for Buddhists. According to the monastic discipline’s codes of conduct, monks have vowed to stay in a particular place or temple for 3 months throughout the rainy season, from the first day of the waning moon in the 8th month to the 15th day of the waxing moon in the 11th month. In some years, two eight lunar months occur, and in that case, Buddhist Lent Day is postponed to the 1st waning moon of the 2nd eight month, or the 1st waning moon day of the ninth month until the 15th waxing moon day of the 12th month, which is the end of the second Buddhist Lent.
Such a practice for the monks was promulgated by the Lord Buddha and its purpose is allowing Buddhist monks to dwell permanently at a suitable place throughout the rainy season, not pilgrimage to other places. As their pilgrimages could damage young plants. This practice also gives a good chance for the monks to study Buddhist doctrines, share experience and creating unity among themselves. However, there are exceptions called “Satthahakoraniya” which consists of; 1. Taking care of sick monks or parents 2. Help persuade those who want to leave from the Buddhist monkhood 3. Conducting religious functions such as renovating the temple 4. Being invited to perform religious practices
Monks may travel and stay away from their monasteries during this period. However, they are required to return within seven days. As for the local customs during Buddhist Lent, laymen would acquire merit, observe five or eight precepts, offer foods to the monks, listen to sermons as well as offering rain-bathing cloth, lamps and candles. Moreover, they would take this chance to take a vow to refrain from bad actions, in particular, drinking alcohol, taking drugs or leading an inappropriate life and practicing meditation in order to purify the mind according to Buddha’s teachings.
For Thailand, Buddhist Lent Day is also the day of refraining from drinking alcohol. We would like to invite everyone to take a vow to refrain from drinking alcohol throughout the Buddhist Lent in order to stop doing unwholesome things and make great merits. The Buddhist Lent Day should be a starting date for doing good deeds and becoming a good and moral person and we should adopt this approach for living a good and happy life from now on and forever.
6 July 2020 . Translation: Pathitta Kawinchutipat